Pages

อากู๋ พาเที่ยว: อาบน้ำแร่ที่วัดวังขนาย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี










การเดิมทางมาวัดวังขนาย

 พูดถึงชื่อว่า วังขนาย ก็ทำให้นึกถึงน้ำตาลทรายขึ้นมาก่อนนั่นแหละ แต่ว่า วัดวังขนาย อยู่ตรงไหนของกาญจนบุรีกันหนอ ไม่เคยไปกับเที่ยวกาญจนบุรีกับเขาสักกะที ซึ่งนี่ก็คือปัญหาหนึ่งของการเดินทางด้วยตัวเอง เพราะไม่รู้ว่า จะไปยังไง เข้าไปดูที่กูเกิล ก็ไม่แน่ใจ ได้แต่เห็นเป็นเส้นทางใหญ่ ๆ จากดาวเทียม จะว่าไปก็ยังดี ..ดีกว่าไม่มีอะไรให้ดู เน้อะ มองโลกในแง่ดี ชีวีมีสุข ถ้างั้น งานนี้ มีแผนที่วัดวังขนายมาให้ดู


หรือสำหรับท่านที่มี GPS สามารถค้นหาพิกัดผ่านโปรแกรม google map ได้โดยใส่เลขดังนี้ลงไป  
13.951602,99.649966

แผนที่วัดวังขนาย

เส้นทางที่ไปบ่อน้ำพุร้อนที่วัดวังขนาย ไปได้หลายเส้นทาง แต่วันนี้ออกเดินทางจากกรุงเทพใช้เส้นพุทธมณฑลมุ่งหน้าออกไปทางนครปฐม ขับตรงยาว ไปสักพักนึก จะเห็นป้ายบอกทางให้ไปทางบ้านโป่ง ราชบุรี เราก็ขับรถไปทางบ้านโป่งนั่นแหละ ขับตรงยาวไปอย่างเดียว ไม่ต้องไปเลี้ยวเข้าเมืองที่ไหน


ไปวัดวังขนายกันเถอะ                        ทางไปวัดวังขนาย


ขับขึ้นสะพานข้ามแยกไป ต้องขับตรงไปนะ ดูป้ายที่เขาบอกให้ไปทางกาญจนบุรี พอลงสะพานข้ามแยกนี้แล้ว ขับไปอีกนิด จะพบสี่แยก ให้เราเลี้ยวขวาเพื่อไปทางกาญจนบุรี หลังจากนั้นก็ขับตรงไปเรื่อย ๆ ไม่นานก็เข้าเขตจังหวัดกาญจนบุรี ( เห็นมั๊ย ไม่ไกลเลย มาก็มาถึงเมืองกาญจน์แล้ว ) ขับตรงมาได้เลย รับรองไม่หลง ผ่านลูกแก ท่ามะกา มุ่งหน้าท่าเรือ หรือขับมาตามถนนแสงชูโตนั่นเอง จนมาถึงสามแยกใหญ่ ให้ชิดซ้ายไปทางท่าเรือ ขับตรงยาวมาเรื่อย ๆ จะเข้าสู่เขตตลาดท่าเรือ ให้ขับตรงยาว มาได้เลย แถวนี้จะมีโรงงานวุ้นเส้นท่าเรือที่มีชื่อเสียงอยู่ทางด้านซ้ายมือ สามารถจอดรถเข้าไปซื้อของกิน-ของฝากได้ตามอัธยาศัย เมื่อขับมาเรื่อย ๆ จะผ่านโรงงานกระดาษสยามคราฟท์ สาขาวังศาลา ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ เอาหละใกล้ถึงแล้วนะ ….ขับ ตรงมาอีกไม่นาน จะพบวัดวังขนายอยู่ทางขวามือ ก็เลี้ยวรถเข้าไปจอดในลานจอดรถได้เลย อยากบอกว่า มาง่าย ไปสะดวก จริง ๆ แล้วก็ถึงเป้าหมายในที่สุด :-P

การเดินทาง

1.รถยนต์
-ใช้ ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า แล้ววิ่งขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้าจากนั้นตรงไปเรื่อยๆจนถึงทางแยกไปอ.สามพราน จ.นครปฐม ให้ชิดขวาแล้วไปตาม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน อ.นครชัยศรี อ.เมือง จ. นครปฐม จนถึง กม.69 ให้เตรียมชิดซ้ายเพื่อขึ้นสะพานข้าม แยกไป ทาง อ. บ้านโป่ง จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 323 (ถ.แสงชูโต) ผ่านสามแยกกระจับ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เข้าสู่ จ.กาญจนบุรี ที่อ.มะกา อ.ท่าท่วง ไปจรถึง อ.เมือง รวมระยะทาง 129 กม.
-ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) เริ่มจากบางแค ผ่าน อ้อมน้อย , อ้อมใหญ่ , อ.สามพราน , อ.นครชัยศรี ไปบรรจบกับเส้นทางที่ 1 หลังจาก อ.สามพราน ทั้งสองเส้นทางนี้ระยะทางใกล้เคียงกันแต่เส้นทางที่ 2 จะมีปัญหา
รถติดมากกว่า


2.รถโดยสาร 
รถโดยสารจากกรุงเทพฯ จะมีไปภึงเฉพาะที่ตัว อ.เมือง เท่านั้น ไม่มีไปถึงอำเภออื่นๆ รถปรับอากาศชั้น 1 ไปจอด ที่สี่แยกไฟแดงหน้าศาลหลักเมือง รถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดาจอดที่สถานีขนส่งกาญจนบุรี
- รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง ออกทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-
22.30 น. รถปรับอากาศชั้นสองออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192
- รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 434-5557


3.โดยรถไฟ
การเดินทางโดยรถไฟนับเป็นสเน่ห์ของการเดินทางอีกรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่ต้องมีเวลามากและไม่รีบร้อนขึ้น รถไฟได้ที่สถานีบางกอกน้อย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย โทร. 0 2411 3102 วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำเที่ยวไปกลับภายในวันเดียว รายละเอียดสอบถามเพิ่ม เติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020 และ 1690 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th นอกจากนี้ยังมีรถไฟนำเที่ยวขบวนพิเศษที่ให้บริการเฉพาะวันหยุดหลาย รายการแต่ต้องติด ต่อ จองล่วงหน้า และต้องไปขึ้นรถที่สถานีรถไฟหัวลำโพง การเดินทางโดยรถไฟไปเที่ยว เมืองกาญจน์มีความ พิเศษต่าง จากที่อื่น คือเป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์หรือเรียกกันว่าทาง รถไฟสายมรณะ หากมีโอกาสจึง ไมควรพลาดจะนั่ง รถไฟเที่ยวออกจาก สถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เวลา 07.40 น. และ 13.50 น. แวะจอดที่สถานกาญจนบุรีีสะพานข้ามแม่น้ำแคว ท่ากิเลน สถานีน้ำตก ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง


เกี่ยวกับ วิหาร หลวงพ่อสรรเพชญ

 

   

ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่เล่าต่อๆกันมาว่า  

ได้มีคนนำหลวงพ่อสรรเพชญล่องมากับแพและเมื่อแพได้ล่องมาถึงตำบลวังขนาย   แพได้มาติดอยู่ที่เกาะวังขนาย   ชาวบ้านมาพบเห็นเข้า จึงได้อาราธนานำไปไว้ที่ถ้ำกูป  ตำบลบ้านใหม่   อำเภอท่าม่วง   จังหวัดกาญจนบุรี   มีอยู่ด้วยกัน3 องค์ แต่อีก 2 องค์ไม่ทราบว่าตกไปอยู่ที่ใด หลวงพ่อเสนาะอดีตเจ้าอาวาสวัดวังขนายฯสมัยที่ท่านยังไม่ได้บวชเป็นพระ  ท่านทำไร่ยาสูบอยู่บริเวณ ถ้ำกูป  ท่านเคยขึ้นไปกราบไหว้และอธิษฐานว่า  ถ้าท่านบวชเป็นพระและได้เป็นเจ้าอาวาส
วัดใดวัดหนึ่ง  ท่านจะนำหลวงพ่อสรรเพชญองค์นี้ไปอยู่ด้วยกัน 
วัดใดวัดหนึ่ง  ท่านจะนำหลวงพ่อสรรเพชญองค์นี้ไปอยู่ด้วยกัน วัดใดวัดหนึ่ง  ท่านจะนำหลวงพ่อสรรเพชญองค์นี้ไปอยู่ด้วยกัน วัดใดวัดหนึ่ง  ท่านจะนำหลวงพ่อสรรเพชญองค์นี้ไปอยู่ด้วยกัน  ก่อนหน้าที่หลวงพ่อเสนาะจะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดวังขนายฯ  ท่านบวชอยู่ที่วัดต้นลำใยในเขตอำเภอท่าม่วง อยู่ที่วัดต้นลำใย 11 พรรษา  ต่อจากนั้นชาวบ้านจึงได้กราบนิมนต์ท่านมาอยู่ที่วัดวังขนายเมื่อปี พ.ศ.2501  แต่หลวงพ่อสรรเพชญนั้น  ชาวบ้านได้อาราธนามาอยู่ที่วัดวังขนายฯก่อนหน้าท่านแล้ว 3 ปี  เมื่อหลวงพ่อเสนาะมาพบหลวงพ่อสรรเพชญที่วัดวังขนายฯ  ท่านจึงนำไปไว้ที่กุฏิของท่าน 

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2525  ทางวัดวังขนายได้ทำการก่อสร้างวิหารฉลองกรุงรัตนโกสินทร์  ทางวัดจึงได้อาราธนาหลวงพ่อสรรเพชญไปประดิษฐานอยู่ที่นั่นจนถึงปัจจุบัน 

 หลวงพ่อสรรเพชญองค์จริง ประดิษฐาน  อยู่ภายในวิหาร

  



นมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ อยู่ในวิหาร ด้านหน้า รอยพระพุธบาท ในวิหาร



ภายในเจดีย์ จะพบ พระบรมสารีริกธาตุ ที่จัดเก็บรักษาอย่างดี อีกชั้นหนึ่ง ถือเป็น
บุญยิ่งที่จะมีโอกาสได้ เห็นของแท้ในระยะใกล้ ๆ เช่นนี้

 

 

บรรยากาศในวิหาร ด้านซ้าย คือพระพุธรูปทรงเครื่อง เป็นพระพุธรูปปางประจำวัน พระราชสมภาพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทำพิธีหล่อเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2549
เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองที่ทรงครองศิริราชสมบัติ ครบ 60 พรรษา


ส่วนพระ ทางด้านขวาของภาพ เป็นพระพุธรูปทรงเครื่องปางประจำวันพระราชสมภพของ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ทำพิธีหล่อเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2547 เพื่อร่วมฉลองในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ

ครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 12 สิหาคม 2547

 ทางด้านซ้ายมือของภาพ ใกล้กับประตูทางเข้า ก็จะมีแผ่นทองให้กับโยมที่ต้องการเสริมบารมีด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของการหล่อ พระพุธรูป สามารถเขียนชื่อหยอดลงตู้ได้เลย บริจากทำบุญตามแต่ศรัทธา

  

ณ. ภายในวิหาร เป็นบรรยากาศโดยรวม ทางด้านซ้ายล่าง เป็นช้างทอง ใช้สำหรับอธิฐาน
ถามความปราถนา ของตน  หากยกขึ้น ก็เรียกว่า จะมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จในความปราถนา
วิธีใช้ อยู่ บนกระดานสีเขียวใกล้ ๆ กับช้างนั่นเอง  ทางขวามือก็จะมีกระบอกเซียมซี
สำหรับใช้เสี่ยงทาย โชคชะตา

ตรงกลางระหว่าง พระพุธรูปทรงเครื่อง เป็น รอยพระพุธบาท ถัดไปเป็นเจดีย์ ที่บรรจะพระสารีริกธาต
และหลวงพ่อสรรเพชญ องค์จริง ส่วนที่เห็นอยู่ส่วนในสุดเป็นพระยูไล สำหรับทำบุญเพื่อความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง  ฝาผนังวิหารระบายสี เป็นเรื่องราวในสมัย พุธกาลน่า

 ความเป็นมาของบ่อน้ำแร่ เริ่มขึ้นมาได้อย่างไร 

จากข้อมูลที่รู้กันว่า เจ้าอาวาส พระมหาสมพงษ์ ในสมัยนั้น เกิดนิมิต เมื่อปี 2516 ว่า มี แม่แต่งชุดขาวมาบอกว่า ให้เจาะบ่อน้ำหน้าวัด ให้ชาวบ้านใช้ แล้ววัดจะเจริญ ..

ปี2540 ทางวัดให้กรมทรัพย์ยากรธรณี เข้ามาสำรวจและเจาะบ่อน้ำหน้าวัด เมื่อเจาะได้ พบว่ามีความร้อนถึง  42 องศาเซลเซียส
จนกระทั่งปี 2541 คุณสุรพันธ์   เชาว์กุลจรัสศิริ (ผู้จัดการ บริษัท แสงโสม จำกัด) ได้เสนอแนะให้นำน้ำในบ่อนี้ส่งไปวิเคราะห์ที่ ม.เกษตรฯ กำแพงแสน   เมื่อเอาน้ำแร่ไปวิจัยแล้วปรากฏว่า  ในน้ำมีแร่ธาตุอยู่หลายชนิด เช่น

แร่ธาตุที่พบ

ปริมาณ / หน่วยวัด

นำไฟฟ้า (conductivity) 1.20 mS/cm
ความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) 740 ppm
ปริมาณของแข็งทั้งหมด(Total Solids) 740 ppm
สังกะสี(Zn) 0.002 ppm
ทองแดง(Cu) น้อยกว่า 0.005 ppm
โซเดียม(Na) 30 ppm
แคลเซี่ยม (Ca) 150 ppm
แมกนีเซี่ยม (Mg) 36 ppm
เหล็ก(Fe) 0.02 ppm
คลอไรด์(Ci) 6 ppm 
แมงกานีส (Mn) 0.17 ppm
ไนเตรท(No/3) 0.09 ppm
ความเป็นด่าง(Alkalinity)1430ppm
ความขุ่น (Turbidity) 1


ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ต่อมาในปี 2543 คุณสุรพันธ์   เชาว์กุลจรัสศิริ (ผู้จัดการ บริษัท แสงโสม จำกัด) ก็มาคุยกับอาตมาว่า ควรจะทำ “ธาราบำบัด หรือ วารีบำบัด” อาตมาก็คิดว่า คำนี้ เป็นคำสมัยใหม่ คนบ้านนอก ไม่เข้าใจคำว่า ธาราบำบัดตามที่เสนอนั้น อาตมาก็เลยว่า ถ้าอย่างนั้น ก็ใช้คำว่า “อาบน้ำแร่” ซึ่งก็เป็นภาษาง่าย ๆ เป็นภาษาลูกทุ่ง ทุกคนก็รู้


หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ นำข้อมูลไปลง โยมภา เจ้าของแผงขนมหวาน ในตลาดท่าม่วง เขาเป็นปัญหาเรื่องปวดหัวเข่า แล้วก็เดินไม่ได้ ทางวัดก็มีจัด “ปริวาสกรรม” (การเข้าปฏิธรรมเพื่อกระทำให้ศีลนั้น บริสุทธิ์) หลังจากนั้น โยมภา ก็เข้ามาปฏิบัติธรรมในวัด ในระหว่างนั้น ก็ได้ไปอาบน้ำแร่ด้วย


เวลาผ่านไป 7 วัน โยมภาก็กลับมาเดินได้ จากนั้นก็เดินไปจ่ายตลาด ที่ตลาดท่าม่วง ใครๆ ในตลาดก็ตกใจ

 ถามว่าไปทำอย่างไรจึงกลับมาเดินได้ โยมภาก็บอกว่า ไปแช่ตัวแช่เท้าที่วัดวังขนาย เท่านั้นหละ หนังสือ

พิมพ์ ไทยรัฐบ้าง เดลินิวส์บ้าง และสื่อต่าง ๆ ก็ตีแผ่ข้อมูลนี้ออกไป กลายเป็นข่าวใหญ่ตูมตามขึ้นมา

จากนั้นมีคนจากที่ไกล ๆ คือ ทั้งไกลทั้งใกล้ เมื่อรู้ข่าวก็ทยอยกันมาที่วัด


ในบริเวณ ห้องอาบน้ำจะแยกชายหญิง เป็นสัดส่วน มีบริการแช่ ครบครัน ทุกรูปแบบ มีเวลาน้อย ก็เพียงถลกขากางเกงขึ้นแล้วนั่งแช่แต่เท้าถึงหัวเข่า มีเวลามากหน่อย ก็สามารถแช่ครึ่งตัว และ ทั้งตัวได้ 

ภาพบนเป็น อ่างแช่เท้า สามารถเปิดน้ำแร่ แล้วนำเท้าจุ่มลงไปได้เลย และที่ก้นอ่างจะมีกะลาอยู่สองอัน ใช้เหยียบลงไปเพื่อนวดเท้า คลายเส้นประสาท



ภาพนี้ น้ำจะร้อนหน่อย โยมสังเกตุเห็นในภาพจะมีไอลอยขึ้นมาและความเข้มข้นของแร่ธาต ในแต่ละนาทีอาจไม่เท่ากัน แร่ธาตมากหน่อยก็จะมีสีเหมือนน้ำข้าว น้ำแร่ที่นี่ จะมีฟองละเอียด มีความเป็นกรดและกำมะถันเพียงเล็กน้อย เมื่อลองชิมจะมีรสเปรี้ยวหน่อย ๆ อีกทั้งอุณหภูมิที่ อุ่นอย่างพอดี ไม่ร้อนจนเกินไปสามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังได้แทบจะทุกชนิดเลยทีเดียว และที่สำคัญ น้ำที่แช่เสร็จแล้ว วัดจะปล่อยทิ้งทันทีและท่อรวมน้ำทั้งหมดจะไปบำบัดในสระมรกต หลังวัด เพื่อใช้ประโยชน์ ต่าง ๆ ภายในวัดได้ต่อไป



สำหรับท่านที่มีเวลามากหน่อย วัดก็จะมีอ่างขนาดต่าง ๆ ไว้รองรับโยมที่ประสงค์จะลงแช่ทั้งตัว ด้วยขนาดอ่างที่พอดี กับขนาดของโยม แต่ละท่าน  อ่างเล็กเต็มเร็ว อ่างใหญ่ ท้ายสุดเด็ก ๆ ชอบเพราะว่าแช่ได้ ถึงสามคน




ด้านในอ่างจะมีขั้นบันไดไว้ให้สำหรับลงแช่ได้โดยสะดวก ตั้งแต่เด็ก จนไปถึงผู้สูงอายุ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ขาได้ ก็จะมีอ่างสแตนเลสแบบนั่งแช่ครึ่งตัว
และอ่างอาบน้ำแบบฝรั่งก็มีไว้รองรับอีกด้วย



และแน่นอน สำหรับโยมที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสักหน่อย ทางวัดก็ได้สร้างห้อง ส่วนตัวไว้อำนวยความสะดวกอีกด้วย อยู่ทางด้านหลัง ติดรั้ววัดนี่เอง เดินไปหน่อยเดียวเท่านั้น



บรรยากาสร่มรื่น ติดกันนี้ก็มีร้านจำหน่ายสินค้า OTOP ของชาวบ้านแถบวังขนาย และเพื่อความสะดวกของญาติโยมที่อาจจะพาคุณแม่ คุณพ่อมานั่งแช่น้ำแร่น้ำร้อนอยู่นั้น ระหว่างรอก็สามารถคอนเน็ค wireless Wi-Fi ของวัด โดยสามารถรับ รหัสผ่านได้ที่ โต้ะประชาสัมพันธ์ ไว้เผือจะอัพภาพผ่านเฟสบุ๊คแก้เหงาได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดี หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อคุณสมเกียรติ (ภาพบน)
เพื่อสอบถามการเดินทาง ได้ตลอดเวลา ที่หมายเลข (081)005-1355

 

ที่มา:http://aen12m3565.blogspot.com/2013/03/blog-post.html

 


 

No comments:

Post a Comment